ยึดมั่นธรรมาภิบาล บริการเพื่อประชาชน
เทศบาลตำบลค่ายเนินวงนั้นนอกจากมุ่งเน้นบริหารจัดการองค์กรในด้านการสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ แล้ว ยังให้ความสำคัญด้านคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ภายใต้กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ให้คนในชุมชนอย่างหลากหลาย โดยมุ่งหวังให้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างจิตอาสา พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อาทิ กิจกรรมสร้างอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประสบปัญหาทางสังคม รวมถึงช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของชุมชน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมต่างๆ นั้น เกิดจากการได้รับโอกาส ความร่วมมือร่วมใจในการสร้างพลังที่เกิดจากชุมชนจากทุกฝ่าย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ วิสัยทัศน์การบริหารของผู้บริหารที่เน้นด้านคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน มุ่งเน้นกิจกรรมที่ช่วยหล่อหลอมความรู้สึกให้เกิดความเข้มแข็ง รักใคร่สามัคคี สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง มีแนวทางพึ่งพาตนเอง สร้างความเป็นปึกแผ่นให้เป็นชุมชนที่มีคุณธรรม ส่งผลดีทั้งความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นพื้นที่ต้นแบบ
กระบวนการสู่ความสำเร็จของการดำเนินงานด้านการคุ้มครองชุมชน ภายใต้ โครงการ ซึ่งมุ่งเน้นเพื่อการแก้ไขปัญหาแบบบริบทของชนบท ชุมชนมีส่วนร่วมป้องกัน และเฝ้าระวังในกลุ่มเด็กเยาวชนที่เป็นกลุ่มเปราะบาง รวมถึงกลุ่มเสี่ยงอื่น ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่น เป็นการทำงานที่ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงสามารถแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือให้ได้รับความปลอดภัยอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนด้านคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ไม่ให้เกิดความเลื่อมล้ำทางสังคม ดังนี้
๑)การจัดประชุมประชาคมเพื่อจัดทำแผนพัฒนา เพื่อค้นหาปัญหาในแหล่งชุมชน รับทราบปัญหา และความต้องการของประชาชน เพื่อนำมาจัดทำเป็นแผนพัฒนาของเทศบาล ๕ ปี
๒)การจัดประชุมร่วมกันทุกฝ่าย โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมาย
๓)วิเคราะห์ กำหนดกิจกรรม และทำโครงการ รวมถึงจัดหาแหล่งงบประมาณ
๔)ดำเนินการตามโครงการ และติดตามประเมินผล รายงานผลดำเนินงาน
๕)จัดให้มีกิจกรรมให้เกิดความต่อเนื่อง โดยการเฝ้าระวัง ให้ความช่วยเหลือ สร้างความเชื่อมั่น และยั่งยืน
๖)เป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ ได้ศึกษาและนำไปปรับใช้กับบริบทของคนเองได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้แล้ว ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเทศบาลตำบลค่ายเนินวงประสบความสำเร็จ และในปี ๒๕๖๐ ได้รับรางวัง “ตำบลต้นแบบห่วงใยไม่ทอดทิ้งกัน”อันเป็นผลมาจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ความท้าทาย/พลังแห่งการขับเคลื่อน
๑.เด็ก เยาวชน ทำกิจกรรมได้เฉพาะวันหยุดหรือช่วงปิดเทอม ส่วนหนึ่งเพราะต้องช่วยผู้ปกครองทำงาน จึงต้องจัดกิจกรรมในช่วงเวลาที่สามารถเข้าร่วมได้ รวมถึงจัดรถยนต์ส่วนกลางเพื่อรับ-ส่งมาร่วมกิจกรรม
๒.ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ไม่มีเวลาว่างหรือผู้ดูแลมาร่วมกิจกรรรม จึงมีการจัดรถยนต์รับส่ง และจัดกิจกรรมในเชิงรุก เช่น การเยี่ยมบ้าน การพูดคุยเพื่อโน้มน้าวให้เกิดความตะหนักรักสุขภาพตนเอง
๓.ครอบครัว กลุ่มยากจนนั้นทำงานโดยไม่มีวันหยุด จึงเน้นจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมอาชีพ ให้เกิดรายได้
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
๑.ประชาชนได้เรียนรู้ มีความเข้าใน มีอาชีพหลากหลาย พึ่งพาอาศัย เอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเข้มแข็งสามารถจัดการปัญหาของคนเองได้ และได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนเท่าเทียมกัน
๒.ครอบครัวมีแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างถูกต้อง มีความสุขและปลอดภัย
๓.ชุมชนมีผู้นำ และเครือข่ายที่มีความเชื่อมั่นในการเฝ้าระวังป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และปัญหายาเสพติดในชุมชน
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
๑.มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ดี มีสุขอย่างยั่งยืน
๒.มุ่งมันพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการใช้ชีวิตที่ถูกต้องและมีคุณธรรม
๓.ส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรมให้สมาชิกในชุมชนมีความกตัญญู มีจิตอาสา และรับผิดชอบต่อส่วนรวม
ผู้ประสานงานในพื้นที่
นางเรวดี นาคเจือ
นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
โทร ๐๙๔ ๖๗๘ ๑๑๙๙ , ๐๓๗ ๓๙๑ ๓๖๑
แสดงความคิดเห็น