จุดเด่นที่นำมาเป็นคำขวัญ คือ ความสามัคคีกันของทุกกลุ่มคนใน
ชุมชนร่วมกันทำงานภายใต้คำขวัญ "ง่าย ไว ใหม่ ยั่งยืน"
ความโดดเด่นของชุมชน
กำเนิดชุมชน ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนเศรษฐกิจแห่งเดียวในจังหวัดระยองที่คนส่วนใหญ่ในใช่คนในพื้นที่แต่เป็นคนที่ย้านถิ่นฐานมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและได้นำเอาภูมิปัญญาการทอผ้าติดตัวมาด้วย ชาวบ้านในชุมชนนี้ล้วนเป็นชาวพุทธซึ่งในช่วงออกพรรษาจะมีการทำบุญทอดกฐิน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นายพิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองในขณะนั้น ได้ดำริห์ให้มีการทำบุญใหญ่จุลกฐินที่วัดแม่น้ำคู้เก่า อ. ปลวกแดง และให้ชื่อว่า"มหาบุญจุลกฐินถิ่นระยอง" มีการนำเครื่องทอผ้ามาทอผ้าจุลกฐิน และได้มอบเครื่องทอผ้านั้นให้กับชุมชน
จุดเริ่มต้นและปัญหา ต่อมาชุมชนได้ร่วมกันคิดว่าเครื่องทอผ้าที่ได้รับมอบมานั้นจะใช้กันเพียงปีละครั้งเท่านั้น น่าจะใช้ประโยชน์ได้มากกว่านั้น จึงได้ส่งคนในชุมชนไปอบรมเรื่องการทอผ้าเพิ่มเติมที่จังหวัดชัยภูมิ ในเบื้องต้นชุมชนคิดกันว่าจะทอผ้าไหมแต่ขาดวัตถุดิบจึงทดลองทอผ้าขาวม้าและผ้าถุงออกจำหน่าย แต่สู้ตลาดภายนอกไม่ได้ในหลายปัจจัย ด้วยการที่ไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาชุมชนจึงช่วยกันคิดว่ามีวัตถุอะไรในชุมชนที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ใต้ ในที่สุดพบว่าในพื้นพื้นที่ปลูกสับปะรดกันมากน่าจะนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ และที่สำคัญก็คือทุกส่วนของสับปะรดสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการนำเส้นใยของใบมาทำผ้าใยสับปะรด จึงมีการหาทุนพากันไปดูงานการทำผ้าใยสับปะรดที่ประเทศฟิลิปินส์กันเองในฐานะนักท่องเที่ยวแต่ทางโรงงานที่ฟิลิปินส์ ไม่ให้เข้าไปดูวิธีการผลิต กลุ่มจึงได้แต่เพียงซื้อผ้าใยสับปะรดจากฟิลิปินส์มาดูเป็นตัวอย่างและมีการหาข้อมูลการทำผ้าใยสับปะรดอย่างจริงจังโดยมีสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนแล้วพบว่าเส้นใยจากใบสัปปะรดสามารถนำมาทอผ้าได้และตั้งชื่อว่า "ผ้าลักกะตา" ซึ่งเป็นภาษาถิ่นระยอง ในเบื้องต้นต้องใช้ช้อนขูดใบสัปปะรดออกให้เหลือแต่เส้นใยของใบเพื่อนำมาปั่นรวมกับฝ้ายเป็นเส้นด้ายแล้วนำไปย้อมสีธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นเช่นสีจากมังคุด เป็นต้น แล้วนำเส้นใยมาทอเป็นผืนผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ภูมิปัญญาของชุมชน การวรวมตัวของชุมชนไม่ใช่แค่เพียงกลุ่มทอผ้าเท่านั้นแต่ยังรวมเอาอาชีพอื่นๆ ที่คนในแต่ละชุมชนถนัดมารวมด้วย จึงรวมกันเป็นกลุ่มทอผ้าแสนใย คนแสนวิถี ดังที่แสดงไว้ในแผนผัง
ระยะเวลาที่เริ่มต้นกิจกรรม ชุมชนเริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และได้เริ่มลงมือทำกันอย่างจริงจังในปี พ.ศ. ๒๕๖๖๐ และมาเกิดผลสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ จึงได้ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๓เป็นสินค้าโอท็อปและได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่างๆ มากมายหลายรางวัลต่อมาได้มีการพัฒนากระบวนการตีใยสับปะรดและสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปยังต่างประเทศ เช่นฝรั่งเศส สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะทางฝรั่งเศสนั้นถึงกับบอกว่า "มีเท่าไรรับซื้อหมด"
กิจกรรมที่โยงคุณธรรมความดีที่ได้ทำ การทำงทำงานร่วมกันในชุมชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตบนพื้นฐานของความขยันและดำเนินวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อใดที่ชุมชนมีกิจกรรมที่ต้องการความร่วมมือกันทำประชาชนในชุมชนจะออกมาร่วมกันทำกิจกรรมนั้นๆ พร้อมด้วยเครื่องมือที่ตนมีและตั้งใจทำกันอย่างเต็มกำลังของการมีจิตอาสา ประเด็นสำคัญคือทุกคนในชุมชนมีความชื่อสัตย์ในการทำงาน ไม่มีการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
กระบวนการขับเคลื่อนที่สำคัญ ชุมชนคุณธรรม "วิสาหกิจชุมชนทอผ้าแสนใย คนแสนวิถี" ใช้พลัง "บวร" เป็นกระบวนการขับเคลื่อนที่สำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชนตามความถนัดของแต่ละชุมชน วัดหมอมุ่ยคือสถานที่สำคัญในการพบปะปรึกษาหารือกัน และยังเป็นสถานที่ต้อนรับผู้มาดูงานจากที่ต่างๆ อีกด้วย
ผลการดำเนินกิจกรรม เมื่อชาวบ้านที่มาจากต่างวิถีมาร่วมกันทำกิจกรรมเดียวกันทำให้สมาชิกในชุมชนเกิดความรักความสามัคคีและตระหนักว่าการทำงานร่วมกันตัวยความชื่อสัตย์ทำให้อยู่ร่วมกัมกันอย่างมีความสุข ประเต็มสำคัญคือทุกครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมร่วมร่วมกัน
กิจกรรมที่จะทำในอนาคต หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจะทำให้เสร็จ ทำให้วัดเป็นศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าใยสับปะรด และศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนในปี พ.ศ. ๒๕๖๘
หลักสำคัญที่ชุมชนใช้ในการสร้างความยั่งยืนของกิจกรรม ก็คือการใช้พลัง "บวร" ในการพัฒนาหมู่บ้าน และการให้คำมั่นสัญญาในความ
ซื่อสัตย์ที่มีให้กันและกันในหมู่มวลสมาชิกในการทำงานร่วมกัน
แสดงความคิดเห็น