community image

ชุมชนคุณธรรมวัดสมศรี

อ.นาโพธิ์ ต.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 27 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 3 คน
cover

กว่าจะมาเป็นวันนี้

         วัดสมศรีเป็นศูนย์รวมใจของชุมชน และเป็นแหล่งประกอบพิธีทางศาสนาที่สำคัญ เมื่อผู้คนอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุนชนใหญ่ขึ้น การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญต่างๆ มีความจำเป็นมากขึ้น แต่เดิมชุมชนในอดีตเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีเวลาเข้าวัดฟังธรรมร่วมกิจกรรมต่างๆ พาให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข แต่ปัจจุบันกลายเป็น “สังคมนิยมบริโภควัตถุ” ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลกระบทต่อคนในชุมชนโดยตรง วัดสมศรี ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ได้เห็นความสำคัญปัญหาจึงดำเนินการส่งเสริมโครงการชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

         การดำเนินงานของวัดสมศรีเพื่อขับเคลื่อนให้ก้าวสู่การเป็นชุมชนคุณธรรม ประกอบด้วย

๑.บทเรียน “บวร” การเรียนรู้บทเรียนจากชุมชนคุณธรรมวัดสมศรี แสดงให้เห็นถึงพลัง       ความร่วมมือที่เริ่มจากจุดเล็กที่มีพลังมหาศาล นั่นคือ การเริ่มโดย “วัด” เป็นหางเสือในการกำกับทิศทาง จากพระนักพัฒนาที่มุ่งมั่นทุ่มเทในการสร้างฐานแห่งความพอเพียงและหลักธรรมทางศาสนาให้กับคนในชุมชน ด้วยแนวคิด “การพัฒนาที่สร้างฐานให้มั่นคงก่อน ตลอดทั้งชุมชน แล้วจึงพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นขั้น เป็นตอนจึงจะแน่นอน” ด้วยการใช้หลัก ๔ พ ได้แก่ พอกิน พอใช้ พออยู่ และพอร่มเย็น ด้วยกิจกรรม              การดําเนินงานของวัด    

๒.รูปแบบการดําเนินงาน “บวร” ได้อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เกิดการรวมตัวในรูปแบบประชาคมในการระดมความคิดเห็นสำหรับแก้ไขปัญหา สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทการมีส่วนร่วม โดย“บวร”นั้น มี“วัด”เป็นผู้กำกับทิศทาง หมายถึง ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนในการแนะนำ ชี้แนวทางให้ประพฤติปฏิบัติ มี“บ้าน หรือชุมชน”เป็นส่วนสำคัญที่เป็นผู้ร่วมคิด และนำหลักการแนวทางไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ อาศัย “โรงเรียน/หน่วยงานราชการ” โรงเรียนที่ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ให้การศึกษาวิทยาการ เพื่อเป็นคลังสมองในการคิดหาทางรับมือและแก้ไขปัญหา หน่วยงานราชการ ทำหน้าที่สนับสนุนทุกภารกิจและจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความช่วยเหลือในด้านของบุคลากรที่มาช่วยและประชาสัมพันธ์โครงการในวงกว้าง เมื่อทั้งสามส่วนนี้ประสานบทบาทหน้าที่เข้าด้วยกันจะเกิดเป็นพลังเปรียบได้กับการรวมกันของ บ้าน วัด โรงเรียน ในบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันแต่สามารถเกื้อหนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งมีศูนย์กลางเดียวกัน คือ “การพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ ไปกับการพัฒนาจิตใจ” ซึ่งหมายถึง การให้ความสำคัญของจิตใจ และจิตวิญญาณ เพราะการอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องทำให้คนในสังคมเกิดความรักและสามัคคีกันสังคมจึงจะสงบ


ความท้าทาย

๑.ปัจจัยสนับสนุน ความเข้มแข็งของผู้นําจากทั้งสามสถาบันหลัก ได้แก่ เจ้าอาวาส ผู้บริหารโรงเรียน และผู้นําชุมชน มีความคิดริเริ่มและมีศักยภาพในการพัฒนา ขณะเดียวกันการมีเป้าหมายร่วมกันซึ่งเกิดจากความร่วมมือ ความสามัคคีของคนในพื้นที่และภาคีการพัฒนาต่างๆ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้ชุมชนสามารถสืบทอดประเพณี ศีลธรรม และศาสนาไว้ได้

๒.ปัจจัยอุปสรรคที่สำคัญต่อการพัฒนา คือค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปของคนในพื้นที่รวมถึงบุตรหลานที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนที่หันมาให้ ความสำคัญกับวัตถุ นอกจากนี้ ความยั่งยืนของชุมชนยังขาดการส่งเสริมคุณธรรม ศีลธรรมและประเพณีเพื่อสืบทอดศาสนายังคงเป็นข้อที่ต้องได้รับการแก้ไขพัฒนาต่อไป เนื่องจากการดําเนินงานต่างๆ ในปัจจุบันขึ้นอยู่กับตัวผู้นําค่อนข้างมาก


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         ผลที่ได้จากการดําเนินงานการส่งเสริมคุณธรรมและประเพณีเพื่อสืบทอดศาสนาผ่านกระบวนการ “บวร” มาใช้ในการพัฒนาชุมชนส่งผลให้ปัญหาวิกฤติต่าง ๆ บรรเทาลงไปในระดับ ที่ชุมชนสามารถควบคุมได้ อาทิ ปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดที่ลดลง คุณภาพของนักเรียนที่เพิ่มสูงขึ้น คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งทรัพยากรชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ ในขณะที่ผลทางด้านทุนทางสังคมที่สำคัญ คือ ชุมชนมีความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้คนในชุมชน มีการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์และประเพณีชุมชน มีการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ การรวมกลุ่ม               และการทำงานแบบประสานความร่วมมือของสถาบันต่าง ๆ ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญในการพัฒนาชุมชนและประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป


เป้าหมายที่จะเดินต่อ

๑.การให้ความสําคัญกับการสร้างเป้าหมายที่ชัดเจน โดยเป้าหมายที่ชัดเจน จะนําไปสู่ผลลัพธ์เชิงประจักษ์

๒.การมีส่วนร่วมและความตั้งใจจริงของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นหัวใจสําคัญของการพัฒนา

๓.นอกเหนือจากตัวบุคคลแล้ว การพัฒนาต้องเน้นที่ครอบครัว เนื่องจากครอบครัว                         เป็นรากฐานของชีวิต

๔.การนําองค์ความรู้ ภูมิปัญญา หลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชุมชนสามารถดำรงอัตลักษณ์ และได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ข้อมูลติดต่อ

พระครูโพธิคุณากร ๐๘๙-๕๘๐-๓๙๕๓ 

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
พระครูโพธิคุณากร ๐๘๙-๕๘๐-๓๙๕๓

แสดงความคิดเห็น

profile