“มีศีล มีธรรม มีสุข”
บันทึกเรื่องราวของชุมชนวัดสำโรง จากหลักฐานทะเบียนวัดผ่านมาสองร้อยกว่าปีในอดีต ชื่อของวัดเปลี่ยนจากวัดสามโรง เป็นวัดสำโรง ด้วยว่าสมัยก่อนแถบนี้มีต้นสำโรงขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นชุมชนที่มีความเป็นอยู่แบบพอเพียง ประชากรประกอบอาชีพเกษตร ทำนา ทำสวน วัดสำโรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา แม่น้ำท่าจีนเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงประชากรในชุมชน อาศัยประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน และแม่น้ำท่าจีนยังเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น สามารถเลี้ยงตนเองบนวิถีความพอเพียง เป็นชุมชนที่มีความร่มเย็น สงบสุขอย่างยั่งยืน
กว่าจะมาเป็นวันนี้
ชุมชนวัดสำโรงตั้งอยู่ที่ตำบลวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนที่อพยพมาตั้งรกรากกับคนในพื้นที่เดิมตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในบริเวณปากคลองโยงริมแม่น้ำท่าจีนและแรงงานชาวมอญ เขมร ลาว ได้พระราชทานให้จับจองพื้นที่ โดยมีวัดสำโรงเป็นศูนย์กลาง ของชุมชน โดยยึดหลักศีล ๕ มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิต “อันว่า ศีล ๕ เป็นการสำคัญมนุษย์ เมื่อทุกคนมีศีล ๕ ด้วยกัน สังคมนั้นๆ คือ ประชาชนย่อมจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อเป็นไปได้ ขอให้ชื่อหมู่บ้านว่า “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ซึ่งเป็นคำกล่าวของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร มีความมุ่งหวังให้คนในชุมชนดำเนินชีวิตตามแนววิถีไทยที่ประพฤติปฏิบัติตามจารีตประเพณีอันดีงามทางพระพุทธศาสนา โดยมีการทำบุญตักบาตร ฟังธรรม เจริญจิตภาวนา ถืออุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ โดยพระสงฆ์มีบทบาทในการประสานสัมพันธ์ระหว่าง “บ้าน วัด โรงเรียน”เพื่อเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับ “พออยู่ พอกิน” พัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านด้วยการต่อยอดทุนสังคมด้วยแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยนำมิติทางศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพสุจริต สามารถเลี้ยงตนเองบนวิถีความพอเพียง เป็นชุมชนที่มีความร่มเย็นสงบสุขอย่างยั่งยืน
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการเป็นชุมชนต้นแบบ
ชุมชนมีการบริหารจัดการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน โดยภาครัฐ ปรับบทบาทจากผู้กำกับ ควบคุม สั่งการ และดำเนินการเอง มาเป็นผู้ประสานสนับสนุน บริการอำนวยความสะดวก สามารถทำงานกับภาคีพัฒนา ในลักษณะหุ้นส่วนการพัฒนาที่คำนึงถึงความต้องการของชุมชนวิถีชุมชน ภาคเอกชน คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน ผู้บริโภค สถาบันศาสนามีบทบาทเป็นแหล่งเผยแพร่หลักธรรม ปลูกฝังทัศนคติการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิต การช่วยเหลือเกื้อกูลคนในสังคม และร่วมดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ สถาบันการศึกษาจะมีบทบาทเป็นแหล่งให้ความรู้ สร้างศักยภาพและกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และคนทุกกลุ่มวัย ซึ่งเป็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนในรูปแบบองคาพยพ ที่ทุกภาคส่วนดำเนินการไปพร้อมๆ กัน
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
ชุมชนมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ พร้อมได้มีการจัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บวร On Tour เกิดการสร้างความร่วมมือ เพื่อร่วมขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม ด้วยหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
ชุมชนวัดสำโรงดำเนินการนำทุนทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต และอัตลักษณ์ของชุมชน ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของชุมชน เชื่อมโยงกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ)
พระปลัดประพจน์ สุปภาโต
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๙ ๒๒๓ ๑๒๔๓
แสดงความคิดเห็น