“เสริมเฮียน ชุมชนสร้างบ้าน
ท้องถิ่นสร้างเมือง”
จากสถานการณ์ของผู้สูงอายุและคนพิการในพื้นที่มีผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นทุกปี เทศบาลตำบลเสริมงาม จึงตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางในการรับมือสังคมผู้สูงอายุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ จึงได้สร้างระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและคนพิการ จึงได้เกิดโครงการปรับสภาพบ้านผู้สูงอายุคนพิการโดยชุมชนท้องถิ่น “เสริมเฮียน-ชุมชนสร้างบ้านท้องถิ่นสร้างเมือง”
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นพื้นที่ต้นแบบ
นโยบายของผู้บริหารให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ทีมงาน“เสริมพัฒน์”เป็นการบูรณาการร่วมกันทั้งหน่วยงานภายใน ภายนอก ท้องถิ่น ในการปรับสภาพบ้าน การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณจากเครือข่าย เช่น มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาลำปาง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง สถาบันการศึกษา เช่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมฯ เริ่มแรกมีการลองผิดลองถูกในการประเมินและออกแบบการปรับสภาพบ้านให้คนพิการ ผู้สูงอายุ โดยออกแบบตามบริบทของชุมชน มีการพัฒนารูปแบบการปรับสภาพบ้านโดยเน้นผู้ใช้เป็นหลักในการปรับ ซึ่งในการประเมินออกแบบนั้นจะมีนักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลเสริมงาม ช่างเทศบาล ช่างจิตอาสาร่วมด้วย จนมีการถอดบทเรียนได้หลักสูตร “ชุมชนสร้างบ้านท้องถิ่นสร้างเมือง” ๓,๖,๑๒ ชั่วโมงของการเรียนรู้การปรับสภาพบ้านโดยชุมชนท้องถิ่น โดยได้มีการปรับสภาพบ้านจำนวน ๕๓ หลัง ๕๓ รูปแบบตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
คนในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ต้นทุนพื้นที่เป็นที่ตั้ง และในการปรับสภาพบ้านที่เน้นให้เกิดความคุ้มค่าของผู้ใช้ และใช้ได้กับทุกคนในบ้าน เกิดความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ผู้อยู่อาศัย และใช้วัสดุในท้องถิ่นที่สามารถทดแทนวัสดุที่มีราคาสูง ลดค่าใช้จ่ายในด้านงบประมาณได้
การปรับสภาพบ้านที่มีงบประมาณที่จำกัด ดังนั้นการดำเนินงานโดยหลักแล้วเป็นการดำเนินงานแบบจิตอาสา ที่ไม่มีค่าจ้าง ค่าตอบแทน และการสร้างความร่วมมือทั้งในองค์กร ท้องที่ แกนนำชุมชน ใช้ใจในการดำเนินงานและหนุนเสริมการทำงานด้วยวิชาชีพของคณะทำงาน ที่ช่วยเหลือการทำงานร่วมกัน พึ่งพาอาศัยแบบพี่แบบน้องแบบครอบครัว
สิ่งหนึ่งที่ทางผู้บริหาร คณะทำงานได้นำเป็นแนวทางการทำงานคือ “จงบอกตนเองว่าอย่าลืมว่าเราเป็นลูกหลานของบ้านเมืองนี้ อย่าเลือกปฏิบัติ ใช้ใจในการทำงาน ถึงมันจะลำบาก ถ้างานเราสำเร็จแล้วมันเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจ เราจะรู้ได้ตนเอง” และสิ่งที่แสดงให้เราเห็นได้ชัดเจนจากการทำงานคือ ช่างจิตอาสาที่เข้ามาร่วมทำงานปรับสภาพบ้าน คือเป็นคนในครอบครัวที่เราได้เข้าไปปรับสภาพบ้านให้เขาได้เห็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ดูแลในครอบครัวหลังจากได้รับการปรับสภาพบ้าน และสิ่งนี้คือจุดเริ่มต้นของช่างจิตอาสา ทีมเสริมพัฒน์ ของพื้นที่เทศบาลตำบลเสริมงาม
ประชาชนสมาชิกในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังจากได้รับการปรับสภาพบ้าน ผู้สูงอายุ คนพิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ลดภาวะความเครียดทั้งผู้สูงอายุ คนพิการคนในครอบครัวและผู้ดูแลสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พึ่งพาอาศัยกันแบบพี่แบบน้อง คนในชุมชนมีจิตอาสา ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมตรวจสอบ เป็นภาคีเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพื้นที่เทศบาลตำบลเสริมงาม และอำเภอเสริมงาม
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
เป็นศูนย์เรียนรู้การปรับสภาพบ้านโดยชุมชนท้องถิ่น เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงกายอุปกรณ์และ พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เอื้อต่อผู้สูงอายุและคนพิการ รวมทั้งให้บริการยืมอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ คนพิการ เกิดหมู่บ้านต้นแบบการปรับสภาพบ้านเพื่อเป็นพื้นที่ในการศึกษาดูงาน มีทีมช่างชุมชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งขยายผลการทำงานไปสู่ อปท.ในพื้นที่อำเภอเสริมงามงามให้สามารถออกแบบการปรับสภาพบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ผู้ประสานงาน : นางสุดถนอม ลำปน
ตำแหน่ง นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ
โทร. ๐๙๓-๔๖๕-๕๕๔๖
แสดงความคิดเห็น