“ตลาด ๑๒๐ ปี วิถีชาววัง”
เนื่องด้วยบริเวณชุมชนตลาดชุมชนหน้าวัดวังทองวรารามและชุมชนริมน้ำวังทอง เป็นชุมชนเก่าที่มีเอกลักษณ์ของตลาดตามวิถีชุมชนดั้งเดิม เทศบาลตำบลวังทองจึงเห็นว่าชุมชนแห่งนี้น่าจะมีศักยภาพในการพัฒนาชุมชนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และส่งเสริมให้เป็นย่านตลาดการค้าที่คงไว้ซึ่งคุณค่าวิถีชีวิตดั้งเดิม โดยอนุรักษ์ความเป็นวัฒนธรรมไทยเรือนไม้ตามแนวสถาปัตยกรรมเดิมโดยเชื่อมโยงความเป็นวิถีไทย ตลอดจนฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นกำเนิดของบรรพบุรุษสู่เยาวชนรุ่นใหม่ของอำเภอ วังทอง ได้จัดทําโครงการพัฒนาตลาดร้อยยี่สิบปีขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนหน้าวัด ชุมชนตลาด เป็นย่านการค้าที่คงไว้ซึ่งคุณค่าวิถีชีวิตดังเดิม มีการส่งเสริมการค้าในตลาดที่มีการรับรองมาตรฐานของกรมอนามัย
เส้นทางสู่ความสำเร็จของงการมาเป็นพื้นที่ต้นแบบ
ขั้นตอนการปฏิบัติหรือการพัฒนา
๑)มีการร่วมเวทีประชาคมกับชุมชนตลาด ชุมชนหน้าวัดวังทองและชุมชนริมน้ำวังทอง
๒)ได้มติคัดเลือกคณะกรรมการตลาด ๑๒๐ ปีวิถีชาววัง เพื่อจัดทำโครงการเสนอ
๓)มีการสำรวจขอมูลวิจัยชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนและของดีในชุมชน
๔)เสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติ
๕)ดำเนินการจัดกิจกรรม
๕.๑จัดกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชุมชนให้เป็นจุดเด่นในการค้าการขายโดย เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
๕.๒จัดทำสื่อสร้างเอกลักษณ์ของตลาดย่านชุมชนเก่าที่มีคุณค่า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมทั้ง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม
๕.๓จัดอบรมความรู้ศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาคุณภาพอาหารให้กับผู้ประกอบการ
๕.๔ศึกษาดูงาน การจัดตลาดเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม
๕.๕จัดทำแผนที่ตลาด ๑๒๐ ปี วิถีชาววัง
๕.๖จัดทำศูนย์ข้อมูลของตลาด ๑๒๐ ปี วิถีชาววัง
ความท้าทาย/พลังแห่งการขับเคลื่อน
ในส่วนของความท้าทาย อุปสรรคที่พบนั้นคือประชาชนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือในระยะแรกเนื่องจากยังไม่เข้าใจถึงขั้นตอน การพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ เทศบาลตำบลวังทองจึงได้ให้ความรู้และได้จัดทำเวทีประชาคมร่วมกับชุมชนเพื่อรับฟังปัญหาและร่วมหาทางแก้ไขปัญหาในพื้นที่หลายครั้ง โดยมีความเห็น มติว่าการเริ่มต้นที่จะพัฒนาให้ประชาชนในพื้นที่มีความสุข และสร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชนต้องทำอย่างไร จนนำไปสู่ความเข้าใจและการให้ความร่วมมือตามลำดับ
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
ประชาชนในชุมชน มีความเป็นอยู่ที่พอดี มีการแบ่งปันพื้นที่ทำกินโดย เปิดให้แม่ค้าพ่อค้าจากตำบลอื่นสามารถมาขายของในพื้นที่ได้ คนในชุมชนนั้นมีความรัก หวงแหน สิ่งแวดล้อมในพื้นที่และเห็น คุณค่าของทรัพยากรและต้นกำเนิดของบรรพบุรุษมากขึ้นมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการดูแล ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณตลาด ๑๒๐ ปี
นอกจากนั้นยังได้เป็นที่ยอมรับในการจัดให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยว โดยมีกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หรือสื่อมวลชนต่างๆ ที่ได้มาเที่ยวและนำภาพความประทับใจลงโซเชียล ทำให้หน่วยงานอื่นหรือประชาชนที่อยู่นอกพื้นที่หรือเขตอื่นได้เห็นความเป็นวัฒนธรรมของชุมชน จึงขยายผลไปสู่การที่หน่วยงานการท่องเที่ยวระดับจังหวัดและระดับอำเภอประสานงานมายังเทศบาลตำบลวังทองและ คณะกรรมการตลาด ๑๒๐ ปี เพื่อเชื่อมโยงให้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวระดับจังหวัด
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
เทศบาลตำบลวังทอง คณะกรรมการตลาด ๑๒๐ ปี และประชาชนในพื้นที่มีการพัฒนาให้ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวตามวิถีชุมชนดั้งเดิม โดยการบูรณาการร่วมกับองค์การ บริหารส่วนจังหวัด และอำเภอวังทองเพื่อเชื่อมโยงให้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวระดับจังหวัดโดยการอนุรักษ์ ความเป็นวัฒนธรรมไทยเรือนไม้ตามแนวสถาปัตยกรรมที่เป็นต้นกำเนิดของบรรพบุรุษต่อไป
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ผู้ประสานงาน : นางสาวศุภกร ใจทัน
ตำแหน่ง นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
โทร ๐๖๒ ๖๕๑ ๖๕๔๒
แสดงความคิดเห็น