community image

ชุมชนคุณธรรมวัดอัมพวัน

อ.เมืองตาก ต.ป่ามะม่วง จ.ตาก
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 20 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 2 คน
cover

“ถิ่นพำนักตำหนักพระเจ้าตาก

เสาหลักเมืองประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่

แม่น้ำปิงสะพานแขวนสวยลือไกล

ทุ่งหลวงใหญ่นาข้าวไร้สารพิษ”


ชุมชนคุณธรรมวัดอัมพวันเป็นที่ราบลุ่ม ที่กว้างใหญ่เหมาะที่จะเป็นไร่นา ทำสวน และมีต้นมะม่วงขึ้นเป็นจำนวนมาก อยู่ติดลำห้วยแม่ท้อ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการเดินทางไปมาลำบากต้องนำเรือข้ามฟากไปมา ชาวบ้านตำบลระแหง จึงอพยพครอบครัวมาตั้งรกรากอยู่ในไร่นาของตนเองมากขึ้นเนือง ๆ เป็นหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านป่ามะม่วง ต่อมามีความเจริญมากขึ้น จึงเป็นตำบลป่ามะม่วง หรือชุมชนวัดอัมพวันในเวลาต่อมา


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นพื้นที่ต้นแบบ

ชุมชนวัดอัมพวันเป็นชุมชนที่ยังคงดำรงมั่นในพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอันดีงามตามแนววิถีชาวพุทธ ที่สำคัญยังคงสืบทอดวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม มีวัดอัมพวัน เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และมีผู้นำหมู่บ้านที่เข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมสำคัญๆ อีกทั้งชุมชนได้มีการบูรณาการการดำเนินงานขับเคลื่อนชุมชนโดยใช้พลัง “บวร” เป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อน ยึดหลักปฏิบัติ ๓ ประการ คือ ปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมไทย ชุมชนวัดอัมพวัน ได้มีกระบวนการขับเคลื่อนชุมชน ดังนี้

๑.ประกาศเจตนารมณ์ข้อตกลงของชุมชนโดยผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนที่จะขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนคุณธรรม

๒.กำหนดเป้าหมายปัญหาที่อยากแก้ และความดีที่อยากทำ

๓.ร่วมกันจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมของชุมชนเกี่ยวกับปัญหาที่อยากแก้ความดีที่อยากทำที่เป็นความต้องการของชุมชน และเป็นประโยชน์สุขของชุมชน

๔.ดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

๕.ติดตามประเมินผลสำเร็จเพื่อทบทวน ปรับปรุงแผนส่งเสริมคุณธรรมของชุมชนให้มีคุณภาพและบรรลุผลในการประชุมประจำเดือนของชุมชน

๖.ยกย่องเชิดชูบุคคลผู้ทำความดี หรือบุคคลผู้มีคุณธรรมในชุมชนและบุคคลอื่นที่ความดีให้กับชุมชน

๗.ประเมินผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามแผนส่งเสริมคุณธรรม ชุมชนได้มีการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาของชุมชน ทำให้ปัญหาของได้รับการแก้ไข คนในชุมชนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

๘.กำหนดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม โดยนำหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญา                       ของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามมาแก้ปัญหาของชุมชน และบ่มเพาะคุณธรรมความดีที่อยากทำ

๙.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในชุมชน และชุมชนอื่นๆ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้การศึกษาดูงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายเครือข่ายเพื่อให้เกิดสังคมคุณธรรม


ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

ชุมชนวัดอัมพวันได้ดำเนินการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมสำเร็จและเป็นต้นแบบด้านคุณธรรมได้นั้น มีผลลัพธ์เชิงประจักษ์ คือ คนในชุมชนยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา น้อมนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ส่งผลให้มีพฤติกรรมที่ดี ประกอบด้วย

พฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อตนเอง คือ มีความอดทน อดออม มีความพอประมาณ รู้จักพึ่งพาตนเอง ประกอบสัมมาอาชีพสร้างรายได้ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง

พฤติกรรมที่ดีต่อครอบครัว คือ ไม่มีปัญหาการทะเลาะวิวาท ไม่มีปัญหาการพนัน ไม่มีอบายมุข ไม่มีปัญหาการลักขโมย มีความรักความห่วงใยซึ่งกันและกัน ครอบครัวมีความรัก ความอบอุ่น

พฤติกรรมที่ดีต่อเพื่อนบ้าน คือ ความเอื้ออาทร ช่วยเหลือ แบ่งปันซึ่งกันและกัน มีความห่วงใยซึ่งกันและกัน

พฤติกรรมที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน คือ มีการรวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ ช่วยเหลือกัน ดูแลผู้มีรายได้น้อย ด้วยการสร้างงานสร้างอาชีพ พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

พฤติกรรมที่ดีต่อชุมชนของตนเอง คือ ไม่มีปัญหาขยะ ไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม รู้สิทธิหน้าที่ การเป็นพลเมืองที่ดี ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม รู้รักสามัคคี เสียสละและกตัญญูรู้คุณ

พฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ คือ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้รับการอนุรักษ์


ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม

         ชุมชนมีความตั้งใจจะพัฒนาให้เป็นชุมชนต้นแบบและเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ให้มีความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการท่องเที่ยว ด้านประเพณีวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจชุมชน คนในชุมชน

มีความสามัคคีและมีส่วนร่วม


ผู้ประสานงานในพื้นที่

นายพีระมิตร น้อยบุญมา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ โทร ๐๘๓-๕๗๒-๙๖๕๐

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
พีระมิตร น้อยบุญมา ๐๘๓-๕๗๒-๙๖๕๐

แสดงความคิดเห็น

profile