community image

ชุมชนคุณธรรมวัดท่าประชุม

อ.บ้านฝาง ต.บ้านดอนดู่ จ.ขอนแก่น
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 1 ตุลาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 4 คน
cover

“วัฒนธรรมเป็นศักดิ์ศรี

วัดสิ่งแวดล้อมดีมีค่าล้ำ

หมู่บ้านรักษาศีลต้นแบบคุณอนันต์

มีครบคันเสร็จสรรพที่วัดท่าประชุม”


กว่าจะมาเป็นวันนี้

         กว่าจะมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบนั้น วิถีชีวิตของคนในชุมชนก็อยู่แบบสมถะ ไม่ค่อยกระตือรือร้น และในส่วนของทางวัดที่ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนก็ขาดพระที่มีความรู้ความสามารถที่จะมาจัดกิจกรรมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ชุมชน จนปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มีเจ้าอธิการประชุม คมฺภีรธมฺโม มาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าประชุม มีดำริที่จะดำเนินการพัฒนาวัดท่าประชุมและชุมชนบ้านดอนดู่ โดยมองเห็นจุดเด่นและจุดด้อยของชุมชน จุดเด่นคือ มีภูมิทัศน์ที่เป็นสัปปายะที่สุด และจุดด้อยคือ ไม่มีองค์ความรู้หรือจิตอาสาที่จะมาพัฒนาวัด จนกระทั่งได้ดำเนินการจัดประชุมชาวบ้านทำแผนพัฒนาวัด ระยะ ๕ ปี โดยเน้นการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายในวัดจนปัจจุบันวัดท่าประชุมได้พัฒนาเป็นวัดต้นแบบชุมชนต้นแบบ


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ

         วัดติดถนนใหญ่สายมะลิวัลย์ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือได้ จึงได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ของวัดให้ทุกคนที่เดินทางผ่านไปมาจะต้องมองเห็นวัดท่าประชุม และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในเรื่องสิ่งแวดล้อม ความสวยงาม จุดเด่นอีกอย่างของวัดคือ มีหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ในวัดมีน้ำตลอดปี

หลังจากวัดท่าประชุมได้ร่วมกับชาวบ้านมาพัฒนาวัดด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในวัดจนเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันทั่วไปแล้ว ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ หน่วยงานราชการต่างๆ ได้เผยแพร่การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะ กระทรวงวัฒนธรรม ได้แจ้งให้วัดต่างๆ เข้าสมัครร่วมโครงการชุมชนคุณธรรม โดยใช้หลัก ๓ มิติ คือ

         การนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

         การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ ๙

         การสืบสานวัฒนธรรมขนมธรรมเนียมประเพณีวิถีไทย วิถีพุทธ วิถีถิ่น วิถีดั้งเดิม เพื่ออนุรักษ์ไว้

         วัดท่าประชุมจึงเข้าสมัครร่วมโครงการ ซึ่งทางวัดมีการขับเคลื่อนกิจกรรมของวัดอยู่เป็นประจำ โดยได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยดีเสมอมา ผลของการประเมิน ทางวัดท่าประชุมได้รับคักเลือกให้เป็นชุมชนคุณธรรมที่โดดเด่นในมิติการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ วัดท่าประชุมได้รับรับคัดเลือกให้เป็นองค์กรที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงวัฒนธรรมระดับประเทศ คือรางวัล “ วัฒนคุณากร ”


ความท้าทาย

         1. การเปลี่ยนเจ้าอาวาส เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำทางศาสนา จึงเกิดความคิดให้เกิดการพัฒนาให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน

         2. มุมมองของชาวบ้านบางกลุ่มต่อพระสงฆ์เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

         ความท้าทายประการหนึ่งคือในการจัดกิจกรรมที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ ให้ดำเนินการ ช่วงต้นชาวบ้านยังไม่มีความรู้ความเข้าใจใน ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขด้วยการชี้แจงเหตุผลให้ชาวบ้านเข้าใจว่า วัดต้องเป็นศูนย์รวมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดการพัฒนา เป็นตัวเชื่อมระหว่างราชการกับชาวบ้าน ชาวบ้านจึงเข้าใจ มีส่วนร่วม และมีความภูมิใจเป็นเจ้าภาพกิจกรรมต่างๆ และมีการแลกเปลี่ยนความรู้จากชุมชนหนึ่งสู่อีกชุมชนหนึ่ง


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายในการมีส่วนร่วมที่ได้พัฒนาชุมขนของตนเอง มีความรู้สึกรักและหวงแหนชุมขน ตลอดทั้งอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมประเพณีและวัฒนธรรมที่ดี พฤติกรรมของประชาชนในชุมชุมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เกิดการร่วมสร้างสังคมคุณธรรม ตามแผนแบบมาบทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ เช่น ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน

         ชุมชนคุณธรรมวัดท่าประชุมได้เข้าร่วมโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญา     ของเศรษฐกิจพอเพียงแล้วเกิดการต่อยอดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้รู้จักชุมชนคุณธรรมต้นแบบของวัดท่าประชุม และได้รับเชิญให้ไปจัดนิทรรศการ ออกบูธตามงานต่าง ๆ ตลอดทั้งมีหน่วยงานหรือองค์กรมาศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นประจำ และไปเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดถอดบทเรียนของกิจกรรมโครงการต่างๆ ของชุมชนมาตลอด

เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         เป้าหมายที่จะเดินในไปในอนาคตได้เริ่มลงมือวางโครงสร้างแล้ว คือ โครงการ “ต้นแบบจิตพุทธอาสาแห่งสุขภาวของชุมชน”

        คำว่าต้นแบบก็คือสิ่งที่ได้ทำมาแล้วและได้รับยกย่องว่าเป็นต้นแบบ ส่วนจิตพุทธอาสาคือ จิตของผู้รู้ผู้ตื่นพร้อมที่จะบริการประชาชนตลอดทั้งพระภิกษุสามเณรโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ทำด้วยจิตอาสา ส่วนสุขภาวะ หมายถึง ความมีสุขภาพสุขภาวะที่ดีต้องครบ ทั้งสี่ด้าน คือทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม อันได้แก่

         สุขภาวะทางกาย หมายถึง การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นต้น

         สุขภาวะทางจิต หมายถึงจิตที่เป็นสุขผ่อนคลายไม่เครียด เป็นต้น

         สุขภาวะทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดี และมีสันติภาพ

         สุขภาวะทางปัญญา (จิตวิญญาณ) หมายถึงความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากจิตใจสูง


ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)

นางวาสนา โสภา ๐๘๑-๘๗๔-๗๐๙๘

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางวาสนา โสภา ๐๘๑-๘๗๔-๗๐๙๘

แสดงความคิดเห็น

profile