community image

ชุมชนคุณธรรมตำบลท่าเมือง

อ.ดอนมดแดง ต.ท่าเมือง จ.อุบลราชธานี
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 3 ตุลาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 3 คน
cover

“วิถีท่าเมือง ชีวิตติดเซ”

กว่าจะมาเป็นวันนี้

         ชุมชนมีอัตลักษณ์วิถีชีวิตที่สงบเรียบง่าย “ฮักแพง เบิ่งแยงกัน” ช่วยเหลือแบ่งปัน อยู่ร่วมกันฉันท์เครือญาติ นับถือศาสนาพุทธ ดำรงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม มีความสามัคคี จนเกิดการรวมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่เข้มแข็ง โดยการใช้พลังบวร เป็นกลไกและพลังในการขับเคลื่อน ด้วยการร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างสังคมคุณธรรม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ความดีที่อยากทำ มีการดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรม และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิถีประเพณีวัฒนธรรมของชาวอีสาน


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

         ชุมชนตำบลท่าเมืองเป็นชุมชนคุณธรรมน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร คนในชุมชนมีส่วนร่วมแสดงเจตนารมณ์ มุ่งมั่นที่จะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมในชุมชน ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา โดยนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยปัญญา สร้างความเข้มแข็งจากภายใน ร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ปัญหาต่างๆ ในชุมชนลดลง สังคมอยู่ดีมีสุข อยู่กันด้วยความรัก ความสามัคคี ตลอดจนมีส่วนร่วมรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรมให้กับประชาชน ชุมชน หรือเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งผลสำเร็จเกิดจากการที่พลังบวรในชุมชนร่วมกันส่งเสริม และพัฒนาตามกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเกิดสังคมคุณธรรมที่มีลักษณะ ดังนี้

๑.คนในชุมชนยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา เกิดความสงบสุขในชุมชนปัญหาต่างๆ หรือสิ่งไม่ดีในชุมชนลดลงหรือหมดไป มีสิ่งดีงามเกิดขึ้นในชุมชน

๒.คนในชุมชนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทำให้ชุมชนอยู่ดีมีสุข มีความพอประมาณ รู้จักพึ่งพาตนเอง มีเหตุมีผลมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง

๓.คนในชุมชนสืบสานและดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม มีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น พัฒนาต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เช่น การแปรรูปทางการเกษตร

๔.ได้รับการยกย่องว่าเป็นชุมชนที่มีการดำเนินงานด้านจิตอาสา เพราะคนในชุมชนมีจิตใจเมตตาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นทั้งในและนอกชุมชน เข้าช่วยเหลือ หรืออํานวยความสะดวกเท่าที่สามารถทำได้ โดยไม่หวังผลตอบแทน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

ความท้าทาย

         ก่อนที่จะมาเป็นชุมชนต้นแบบนั้น ชุมชนตำบลท่าเมืองได้ประสบปัญหาในหลายด้าน ได้แก่

         ๑.คนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ไม่มีระบบชลประทานต้องอาศัยน้ำจากฝนเท่านั้น บางฤดูฝนแล้ง บางฤดูน้ำท่วมเสียหาย ส่งผลให้ไม่มีรายได้ ต่อมาทางรัฐบาลมีงบประมาณดำเนินการสร้างคลองระบายน้ำในพื้นที่

         ๒.ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทำให้การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์นั้นยากต่อการควบคุม และเฝ้าระวัง

อีกทั้งมีปัญหาในเรื่องของช่องว่างระหว่างวัยจนต้องหาวิธีในการสร้างความเข้าใจเพื่อให้สามารถหาจุดร่วมของความคิดที่แตกต่างกันได้ และมีการพัฒนาเศรษฐกิจรากฐานอันเป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนกระจายความเจริญ และลดความเหลื่อมล้ำให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         ชุมชนตำบลท่าเมืองได้ค้นหาอัตลักษณ์ และได้นำทุนทางวัฒนธรรมมาเพื่อจัดทำแผนพัฒนา สร้างวัฒนธรรมกินได้ สร้างรายได้แก่ชุมชน โดยได้ผลลัพธ์ที่ดี ๓ ด้าน คือ

         ๑.ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้ดำเนินตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร วิสาหกิจชุมชนผลิตพืชคุณภาพ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

         ๒.ด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยชุมชนมีการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมประเพณี โดยมีการร่วมกลุ่มพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานท้องถิ่นจากต้นกล้า สร้างรายได้ให้ครอบครัวและเป็นสินค้า OTOP

         ๓.ด้านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน โดยได้รับการยกย่องเป็นชุมชนจิตอาสาดีเด่น มีแกนนำที่มีความเข้มแข็ง และมีความพร้อมที่จะร่วมขับเคลื่อนหมู่บ้าน คนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคี เกิดความมั่นคงในชีวิต สืบสานแนวพระราชดำริ และยึดหลักกสิกรรมธรรมชาติ

เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         ชุมชนตำบลท่าเมืองมีเป้าหมายที่จะเดินต่อในอนาคตดังนี้

         ๑.จุดร่วมที่ตรงกับความสนใจและความต้องการ สามารถนำมากำหนดเป็นอัตลักษณ์ชุมชน

         ๒.การถอดบทเรียนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยเฉพาะในด้านคุณธรรม

         ๓.ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน คือการค้นหาปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ

         ๔.สร้างกลุ่มแกนนำเพื่อสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

         ๕.สร้าง และแสวงหาเครือข่ายคุณธรรมที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อน

         ๖.เน้นการดำเนินงานแบบร่วมคิด ร่วมทำโดยกำหนดให้มีเนื้อหาสาระ ๓ องค์ประกอบคือ ศาสนา เศรษฐกิจพอเพียง และดำเนินชีวิตอย่างมีอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย


ข้อมูลติดต่อ

นายบรรหาร สาระไทย ปราชญ์ชุมชน

๐๘๙-๕๘๒-๑๔๗๖

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นายบรรหาร สาระไทย ปราชญ์ชุมชน ๐๘๙-๕๘๒-๑๔๗๖

แสดงความคิดเห็น

profile